พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ แห่งพุทธมหายาน

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือสายฟ้า หลักฐานฝ่ายบาลีถือว่าเป็นยักษ์ที่คอยคุ้มครองพระพุทธเจ้า ส่วนทางมหายานถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ชั้นสูงองค์หนึ่ง มักปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




พระวัชรปรานิโพธิสัตว์เป็นพระธยานิโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์คู่พระทัยพระพุทธเจ้าอักโษภยะ มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์ คือ วัชระ หรือคทาเพชร อันหมายถึงธาตุ ที่แข็งแกร่งที่สุด หรือธรรมชาติแห่งธรรมะ อันมั่นคงไม่สั่นคลอน  เป็นเครื่องหมายแห่งความสำเร็จในทุกขอบข่ายแห่งการกระทำ คำว่า “วัชระปาณี” หมายถึง ผู้ทรงวัชระไว้ในฝ่ามือ พระองค์ทรงเป็นองค์คุณแห่งพลัง แห่งความสำเร็จ ซึ่งไม่อาจทำลายได้ ผู้ที่กราบไหว้พระวัชรปาณีเชื่อว่าพระองค์สามารถขจัดอุปัทวันตรายทั้งปวง


ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระวัชรปาณี

 ความเชื่อเกี่ยวกับพระวัชรปาณิอาจวิวัฒนาการมาจากพระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ที่ถือสายฟ้าเช่นกัน และอาจจะพัฒนามาจากความเชื่อเกี่ยวกับพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระวัชรปาณีหรือพระอินทร์ เป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์ที่ชาวธิเบตยกย่อง แต่ดั้งเดิมนั้นเป็นเทพในยุคแรกๆ ของพวกอารยัน พระอินทร์เป็นเทพซึ่งยังความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งกันขึ้น เนื่องด้วยมีชนอีกกลุ่มหนึ่งนำพระวรุณขึ้นมาแทนที่ ความขัดแย้งนี้เองทำชาวอารยันต้องรบพุ่งกัน เนื่องจากความคิดต่างกันเป็นเหตุ ฝ่ายหนึ่งต้องอพยพมาทางใต้ และเป็นปฐมบรรพบุรุษของชนชาติอิหร่าน อีกฝ่ายหนึ่งข้ามอัฟกานิสถานเข้าอินเดีย จนเกิดเป็นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ปัจจุบันพระอินทร์หมดบทบาทไปจากศาสนาฮินดู เนื่องด้วยมีการสร้างมหาเทพขึ้นมารองรับความเชื่อ แต่พระอินทร์กลับมามีบทบาทในทางพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
                                  https://www.baronet4tibet.com/images/symbolism/mahakala-6armed.jpg



พระอินทร์หรืออีกนัยหนึ่งว่า วัชรปาณีโพธิสัตว์นั้น ไม่เคยปรากฏว่า อยู่โดดเดี่ยวช่วยเหลือสัตว์โลกแต่เพียงลำพัง มักมาพร้อมเทพบริวารอื่นๆ เพราะพระอินทร์นั้นมีบริวาร 33 คน พุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้น พระองค์มักจะเสด็จมาพร้อมกับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณีโพธิสัตว์ (ปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์) เนื่องด้วยพระอินทร์มีวัชระเป็นอาวุธคู่กาย จึงจัดอยู่ในวัชรสกุล อันมีพระอักโษภยะพุทธเจ้าและพระนางโลจนาเทวีเป็นหัวหน้ากลุ่ม วัชระนั้นมีความหมายว่า " สายฟ้า " อันเป็นคุณสมบัติเดิมของพระอินทร์อยู่ครบถ้วน 



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                                http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10067546/E10067546-36.jpg


เทพนิยายที่เกี่ยวข้องกับพระวัชรปาณีโพธิสัตว์มีว่า พระศากยมุนีพุทธเจ้ารับสั่งให้คอยปกป้องพญานาคจากการทำร้ายของเหล่าครุฑ เนื่องจากพญานาคได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ควบคุมฝนฟ้า ดังนั้นพระวัชรปาณีจึงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งฝน พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานจะทำพิธีขอฝนก็ต้องบูชาพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ และนิยมสร้างรูปของท่านไว้ที่ประตูทางเข้าวัดเพื่อขับไล่ความชั่วร้าย พระวัชรปาณี เป็นผู้บันดาลฝนและช่วยเหลือเมื่อคราวที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าเสด็จออกบวช และปรินิพพาน ดังนั้นจึงสามารถเนรมิตกายได้หลายลักษณะ และมักสร้างให้มีลักษณะน่ากลัว บ้างก็เป็นรูปกายมนุษย์ มี 3 ตา มีเส้นผมรุงรัง สวมมงกุฏกะโหลกมนุษย์ มีงูเป็นสายสังวาลย์ ภูษาทรงหนังเสือ ซึ่งลักษณะนี้คล้ายพระศิวะมหาเทพในศาสนาพราหมณ์ มีปางต่างๆ มากมาย อาทิ



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

อาจารยวัชรปาณี
 มือขวาถือวัชระ มือซ้ายถือบ่วง ทรงเครื่องแบบธรรมบาล ล้อมรอบด้วยเปลวไฟ ยืนทิ้งน้ำหนักที่ขาขวา





ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

นีลามพรวัชรปาณี มือขวาถือวัชระ มือซ้ายถือกระดิ่งในระดับตัก ทรงเครื่องแบบธรรมบาล ยืนทิ้งน้ำหนักที่ขาขวาบนร่างมนุษย์





Buddhist Deities

มหาจักรวัชรปาณี มีสามเศียร หกหรือแปดกร ถือวัชระและงู ทรงเครื่องแบบธรรมบาล




เราก็ได้ทราบกันแล้วนะคะว่า พระวัชรปาณีโพธิสัตว์นั้นมีอาวุธประจำกายคือ วัชระ ซึ่งเป็นคทาเพชร ถึงแม้ว่าพระวัชรปาณีนั้นจะมีรูปร่างน่ากลัว แต่พระองค์ก็มีความเมตตา ช่วยเหลือผู้คน และคอยปกป้องคุ้มครองพระศากยมุนีพุทธเจ้า จึงถือว่าพระวัชรปาณีโพธิสัตว์นั้น ทรงเป็นองค์คุณแห่ง พลังแห่งความสำเร็จ 








อ้างอิงแหล่งข้อมูล

- wikipedia.(2561).พระวัชรปาณีโพธิสัตว์.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/

-โรงเจโผ้วทอเกง(บางแค).(2558).พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ (กิมกังผ่อสัก).สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.facebook.com/pg/phowthokeng/photos/?tab=album&album_id=689976614401068

- BlogGang.(2553).พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ ยักษ์ที่คอยคุ้มครองพระพุทธเจ้า.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=07-2010&date=10&group=66&gblog=57

- Khaosod.(2559).คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ : พระวัชรปานิโพธิสัตว์.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.khaosod.co.th/amulets/news_121695
- Nuntagawutt.(ม.ป.ป.).พระมหาโพธิสัตว์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561, จาก http://nuntagawutt.weebly.com/3607365636293591364936043609361436403607360836483585362536053619.html






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 - 2562 (ตอนที่ 1)

ว่ายน้ำกับฉลามวาฬ มิติใหม่ที่เมืองDonsol