ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 - 2562 (ตอนที่ 2)
สวัสดีค่ะ เราก็เดินทางมาถึงตอนที่ 2 ของการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 - 2562 กันแล้วนะคะ เรื่องที่เราจะนำเสนอในตอนที่ 2 นี้ คือ ด้านสังคม วัฒนธรรม และประเพณี และด้านศาสนาและความเชื่อ ขอเชิญให้ทุกคนได้รับความรู้ไปด้วยกันเลยค่าาาา 😇
ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 - 2562
หนังสือของ บุหลัน รันตี (2553) เรื่อง กะเหรี่ยง ผู้พิทักษ์หัวเมืองตะวันตก ศึกษาเกี่ยวกับสังคมของกะเหรี่ยงที่เป็น ชาติพันธุ์คนชายขอบ การประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่ชาวกะเหรี่ยงเชื่อกัน อีกทั้งยังเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยง ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา รวมไปถึงเรื่องราวของกะเหรี่ยงจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวของปาเกอะญอ และโพล่วงที่มีสำนึกทางสังคม ภาษา ลักษณะเชื้อชาติ ความเชื่อ พฤติกรรมทางสังคมและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน เป็นกระเหรี่ยงพื้นราบอยู่ติดที่มานานร่วม 200 ปี ทำหน้าที่เป็นชาวด่านดูแลปกป้องผืนแผ่นดินไทย ถึงแม้กะเหรี่ยงจะเป็นคนชายขอบ แต่ก็เป็นหนึ่งในพลเมืองของประเทศไทย เช่นเดียวกับกลุ่มอื่นๆ พวกเขาเป็นกลุ่มชนแห่งมนุษยชาติที่รักสงบ สมถะ เรียบง่าย และสันโดษ ตามชื่อที่ซ่อนอยู่ในความหมายของชาเผ่าปาเกอะญอและโพล่วงแห่งชายแดนตะวันตก
หนังสือของ สมัย สุทธิธรรม (2542) เรื่อง สารคดีชีวิตของชนกลุ่มน้อยบนดอยสูง กะเหรี่ยง เป็นหนังสือสารคดีเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ที่ชาวกะเหรี่ยงปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งสังคมชีวิตภายในครอบครัวกะเหรี่ยงนั้นเป็นระบบครอบครัวเดียวอยู่กันแค่พ่อ-แม่-ลูก เท่านั้น หรือหากมีญาติพี่น้อง เช่นตา ยาย ก็จะเป็นญาติทางฝ่ายมารดาเท่านั้น โดยผู้หญิงจะเป็นใหญ่ในบ้าน การตัดสินใจเกี่ยวกับพิธีกรรมเป็นเรื่องของผู้หญิงเช่นกัน ผู้ชายเป็นหลักเป็นเรี่ยวแรงในการทำมาหากินและสร้างบ้าน แต่ผู้หญิงจะเป็นเจ้าของและมีอำนาจมากกว่า และด้วยความเชื่อและนับถือในเรื่องผีและวิญญาณ ชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงผีอยู่เสมอ นอกจากการนับถือผีแล้วชาวกะเหรี่ยงยังนับถือคริสต์ศาสนาและพุทธศาสนาด้วย ซึ่งก่อให้เกิดเป็นประเพณีและวัฒนธรรมในเผ่าขึ้น เช่น ประเพณีปีใหม่ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีเกี้ยวสาว และแต่งงาน หรือแม้กระทั่งประเพณีงานศพ เป็นต้น
งานวิจัยของ พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล (2550) รายงานการวิจัยเรื่อง ดนตรีของชาวกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของเพลงกะเหรี่ยง ความสัมพันธ์ระหว่างเพลงกะเหรี่ยงกับวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง และสภาพปัจจุบันของดนตรีกะเหรี่ยงในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งพบว่าชาวกะเหรี่ยงในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีเพลงที่เป็นเพลงพื้นบ้านของตัวเอง 4 ประเภท คือ เพลงกล่อมลูก เพลงเกี้ยว เพลงรำแคน และเพลงเกี่ยวกับงานศพ ซึ่งเพลงเหล่านี้มีลีลาของจังหวะและทำนองดำเนินไปอย่างเรียบง่าย สำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการขับร้องปัจจุบันใช้แคนเป็นเครื่องดนตรีหลัก เป่าคลอไปกับเสียงขับร้อง ทั้งนี้ดนตรีและเพลงกะเหรี่ยง จึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต เรียบง่ายตามแบบของชาวชนบทประกอบอาชีพทางการเกษตรป็นอาชีพหลัก ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ศิลปะการแสดงมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แต่ปัจจุบันนี้ สภาพสังคมได้เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย เป็นผลให้ชาวกะเหรี่ยงได้รับเอาความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เข้ามาในวิถีชีวิต ให้ความสนใจต่อสิ่งใหม่ๆ ตามสภาพความเป็นอยู่แบบสังคมเมือง
บทความของ วนิดา ตรีสวัสดิ์ (2551) เรื่อง วัฒนธรรมกะเหรี่ยง : การสื่อสารผ่านบทเพลง ศึกษาเกี่ยวกับ เรื่องเพลงกะเหรี่ยงของชาวสวนผึ้ง ซึ่งเป็นการบอกเล่าวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงที่สะท้อนผ่านบทเพลงและสืบต่อๆ กันมา โดยจากการบอกเล่าของคุณลุงปุ๊ บุญกร และคุณลุงบุญธรรม คุ้งลึง ผู้สืบทอดวัฒนธรรมกะเหรี่ยงชาวตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี บอกเล่าเรื่องราวของเพลงกะเหรี่ยงที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงไว้หลายแง่มุม ทั้งการใช้เพลงกะเหรี่ยงในงานเทศกาลต่างๆ พิธีกรรม เช่น เพลงรำแคน เพลงในงานศพ เป็นต้น เพลงกะเหรี่ยงยังสื่อสารให้ผู้ฟังได้ทราบเรื่องราวทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของชาวกะเหรี่ยง เช่น เรื่องราวของการแต่งกาย เป็นต้น และเพลงกะเหรี่ยงยังมีเนื้อหากล่าวถึงการทำมาหากินไว้หลายตอน เช่น ในเพลงผู้หญิงร้องเกี้ยวผู้ชายจะมีเนื้อร้องเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ รวมทั้งยังสะท้อนวิถีชีวิตในเรื่องของการกินหมากไว้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงเพลงที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆที่ชาวกะเหรี่ยงปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งพิธีงานแต่งงาน และกล่าวถึงเพลงที่สะท้อนความเชื่อต่างๆของชาวกะเหรี่ยง เช่น ความเชื่อเรื่อเทวดา ความเชื่อเรื่องบาป-บุญ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงที่ปรากฏอยู่ในเพลงกะเหรี่ยง ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชนเผ่า
ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 - 2562
3.ด้านสังคม
วัฒนธรรม และประเพณี
การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ เรื่องชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542-2562 ที่ศึกษาด้านสังคม วัฒนธรรม และประเพณี
นั้นผู้จัดทำได้สืบค้นข้อมูลมาแล้ว ได้ข้อมูลจากหนังสิอ 2 เล่ม, งานวิจัย 1 งาน และบทความ 1 บทความ ดังนี้หนังสือของ บุหลัน รันตี (2553) เรื่อง กะเหรี่ยง ผู้พิทักษ์หัวเมืองตะวันตก ศึกษาเกี่ยวกับสังคมของกะเหรี่ยงที่เป็น ชาติพันธุ์คนชายขอบ การประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่ชาวกะเหรี่ยงเชื่อกัน อีกทั้งยังเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยง ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา รวมไปถึงเรื่องราวของกะเหรี่ยงจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวของปาเกอะญอ และโพล่วงที่มีสำนึกทางสังคม ภาษา ลักษณะเชื้อชาติ ความเชื่อ พฤติกรรมทางสังคมและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน เป็นกระเหรี่ยงพื้นราบอยู่ติดที่มานานร่วม 200 ปี ทำหน้าที่เป็นชาวด่านดูแลปกป้องผืนแผ่นดินไทย ถึงแม้กะเหรี่ยงจะเป็นคนชายขอบ แต่ก็เป็นหนึ่งในพลเมืองของประเทศไทย เช่นเดียวกับกลุ่มอื่นๆ พวกเขาเป็นกลุ่มชนแห่งมนุษยชาติที่รักสงบ สมถะ เรียบง่าย และสันโดษ ตามชื่อที่ซ่อนอยู่ในความหมายของชาเผ่าปาเกอะญอและโพล่วงแห่งชายแดนตะวันตก
หนังสือของ สมัย สุทธิธรรม (2542) เรื่อง สารคดีชีวิตของชนกลุ่มน้อยบนดอยสูง กะเหรี่ยง เป็นหนังสือสารคดีเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ที่ชาวกะเหรี่ยงปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งสังคมชีวิตภายในครอบครัวกะเหรี่ยงนั้นเป็นระบบครอบครัวเดียวอยู่กันแค่พ่อ-แม่-ลูก เท่านั้น หรือหากมีญาติพี่น้อง เช่นตา ยาย ก็จะเป็นญาติทางฝ่ายมารดาเท่านั้น โดยผู้หญิงจะเป็นใหญ่ในบ้าน การตัดสินใจเกี่ยวกับพิธีกรรมเป็นเรื่องของผู้หญิงเช่นกัน ผู้ชายเป็นหลักเป็นเรี่ยวแรงในการทำมาหากินและสร้างบ้าน แต่ผู้หญิงจะเป็นเจ้าของและมีอำนาจมากกว่า และด้วยความเชื่อและนับถือในเรื่องผีและวิญญาณ ชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงผีอยู่เสมอ นอกจากการนับถือผีแล้วชาวกะเหรี่ยงยังนับถือคริสต์ศาสนาและพุทธศาสนาด้วย ซึ่งก่อให้เกิดเป็นประเพณีและวัฒนธรรมในเผ่าขึ้น เช่น ประเพณีปีใหม่ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีเกี้ยวสาว และแต่งงาน หรือแม้กระทั่งประเพณีงานศพ เป็นต้น
งานวิจัยของ พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล (2550) รายงานการวิจัยเรื่อง ดนตรีของชาวกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของเพลงกะเหรี่ยง ความสัมพันธ์ระหว่างเพลงกะเหรี่ยงกับวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง และสภาพปัจจุบันของดนตรีกะเหรี่ยงในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งพบว่าชาวกะเหรี่ยงในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีเพลงที่เป็นเพลงพื้นบ้านของตัวเอง 4 ประเภท คือ เพลงกล่อมลูก เพลงเกี้ยว เพลงรำแคน และเพลงเกี่ยวกับงานศพ ซึ่งเพลงเหล่านี้มีลีลาของจังหวะและทำนองดำเนินไปอย่างเรียบง่าย สำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการขับร้องปัจจุบันใช้แคนเป็นเครื่องดนตรีหลัก เป่าคลอไปกับเสียงขับร้อง ทั้งนี้ดนตรีและเพลงกะเหรี่ยง จึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต เรียบง่ายตามแบบของชาวชนบทประกอบอาชีพทางการเกษตรป็นอาชีพหลัก ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ศิลปะการแสดงมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แต่ปัจจุบันนี้ สภาพสังคมได้เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย เป็นผลให้ชาวกะเหรี่ยงได้รับเอาความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เข้ามาในวิถีชีวิต ให้ความสนใจต่อสิ่งใหม่ๆ ตามสภาพความเป็นอยู่แบบสังคมเมือง
บทความของ วนิดา ตรีสวัสดิ์ (2551) เรื่อง วัฒนธรรมกะเหรี่ยง : การสื่อสารผ่านบทเพลง ศึกษาเกี่ยวกับ เรื่องเพลงกะเหรี่ยงของชาวสวนผึ้ง ซึ่งเป็นการบอกเล่าวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงที่สะท้อนผ่านบทเพลงและสืบต่อๆ กันมา โดยจากการบอกเล่าของคุณลุงปุ๊ บุญกร และคุณลุงบุญธรรม คุ้งลึง ผู้สืบทอดวัฒนธรรมกะเหรี่ยงชาวตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี บอกเล่าเรื่องราวของเพลงกะเหรี่ยงที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงไว้หลายแง่มุม ทั้งการใช้เพลงกะเหรี่ยงในงานเทศกาลต่างๆ พิธีกรรม เช่น เพลงรำแคน เพลงในงานศพ เป็นต้น เพลงกะเหรี่ยงยังสื่อสารให้ผู้ฟังได้ทราบเรื่องราวทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของชาวกะเหรี่ยง เช่น เรื่องราวของการแต่งกาย เป็นต้น และเพลงกะเหรี่ยงยังมีเนื้อหากล่าวถึงการทำมาหากินไว้หลายตอน เช่น ในเพลงผู้หญิงร้องเกี้ยวผู้ชายจะมีเนื้อร้องเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ รวมทั้งยังสะท้อนวิถีชีวิตในเรื่องของการกินหมากไว้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงเพลงที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆที่ชาวกะเหรี่ยงปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งพิธีงานแต่งงาน และกล่าวถึงเพลงที่สะท้อนความเชื่อต่างๆของชาวกะเหรี่ยง เช่น ความเชื่อเรื่อเทวดา ความเชื่อเรื่องบาป-บุญ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงที่ปรากฏอยู่ในเพลงกะเหรี่ยง ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชนเผ่า
สรุปด้านสังคม วัฒนธรรม และประเพณี การทบทวนวรรณกรรมด้านสังคม
วัฒนธรรม และประเพณีของชาวกะเหรี่ยงนั้นพบว่า
มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่อาจจะไม่เหมือนใคร ทั้งด้านสังคมที่ให้ผู้หญิงเป็นใหญ่
และวัฒนธรรมประเพณีก็มีรากฐานมาจาก ความเชื่อเรื่องภูติผีวิญญาณ
ที่มีความเชื่อนี้กันมาแต่ดั้งเดิมสืบต่อกันมา ประเพณีของชาวกะเหรี่ยง อย่างเช่น ประเพณีปีใหม่
ประเพณีเกี้ยวสาว ประเพณีแต่งงาน เป็นต้น
4. ด้านศาสนาและความเชื่อ
การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ เรื่องชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542-2562 ที่ศึกษาด้านศาสนาและความเชื่อ
นั้นผู้จัดทำได้สืบค้นข้อมูลมาแล้ว ได้ข้อมูลจากหนังสิอ 1 เล่ม และบทความ 2 บทความ
ดังนี้
หนังสือของ
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (2555) เรื่อง กะเหรี่ยง เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือ
ซึ่งเป็นความเชื่อเกี่ยวกับผี ขวัญ และวิญญาณของกะเหรี่ยง โดยความเชื่อพวกนี้
เป็นความเชื่อต่ออิทธิพลและอำนาจของวิญญาณและภูตผีที่มีทั้งดีและร้าย บันดาลให้เกิดความสุขหรือความทุกข์
ความร่มเย็นหรือความเดือดร้อน ความสมบูรณ์แข็งแรงหรือการเจ็บไข้ได้ป่วย ดังนั้น หมอผีหรือผู้ประกอบพิธีกรรมจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งของหมู่บ้าน
แต่ความสำคัญนี้จะจำกัดแวดวงอาณาเขตเฉพาะในแต่ละหมู่บ้านเท่านั้น และเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ฆ่าหมูหรือไก่แล้วแต่กรณี
ปกติทั่ว ๆ ไปมักจะเป็นไก่ หัวหน้าครัวเรือนที่ป่วยก็จะฆ่าไก่
เอาเลือดและขนส่วนหนึ่งบูชาผี เนื้อไก่นำไปแกงแล้วจึงเลี้ยงผี ข้อดีประการเดียวที่แฝงอยู่ก็คือ
หลังจากการเลี้ยงผีแล้ว นั่นก็คืออาหารสำหรับทุกคนในครัวเรือน
บทความของ กิตติกุล
ศิริเมืองมูลและเชาวลิต สัยเจริญ
(2559) เรื่อง ความเชื่อกับการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนกะเหรี่ยงในหมู่บ้านพระบาท
ห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นบทความที่มุ่งศึกษาในประเด็นความเชื่อกับการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนกะเหรี่ยงในหมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม
ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยงพระบาทห้วยต้ม
ศึกษาความเชื่อที่มีผลต่อรูปแบบการจัดระเบียบที่ว่างในระดับหมู่บ้านและเรือน
ตลอดจนสามารถอภิปรายถึงการปรับเปลี่ยนของความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยงพระบาทห้วยต้ม
ผลการวิจัยพบว่าเรือนกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น
โดยสะท้อนออกมาสู่รูปทรง ขนาด สัดส่วน พื้นที่ใช้สอยและวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง
สิ่งเหล่านี้แฝงด้วยความเชื่อและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง ส่วนความเชื่อที่มีผลต่อรูปแบบการจัดระเบียบที่ว่างในระดับหมู่บ้านคือ
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาผู้เผยแผ่พุทธศาสนาให้ชาวกะเหรี่ยงจนพวกเขาเหล่านี้เลื่อมใสศรัทธาจนอพยพติดตามมาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือนด้วย
การมีใจบ้านภายในหมู่บ้านเพื่อเป็นที่ประทับของผีเจ้าที่เจ้าทาง ปกป้องชาวบ้านให้อยู่รอดปลอดภัย
รวมถึงความเชื่อและภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีความสำคัญกับพื้นที่หมู่บ้านคือ
การสืบชะตาขุนห้วย การทำบุญป่า การเลี้ยงผีไร่-ผีนา
ส่วนในระดับเรือนยังคงเหลือความเชื่อแบบดั้งเดิมอยู่คือ การทำบุญแม่เตาไฟ
การลงเสาเอกบริเวณเกือบกึ่งกลางเรือน ความเชื่อที่มาจากพุทธศาสนาจะเห็นเด่นชัดทุกเรือนคือ
การมีหิ้งพระภายในเรือน การหันหน้าเรือนไปทางวัด การหันหัวนอนไปทางทิศตะวันออก
นอกจากนั้นกระแสความทันสมัยที่ได้เข้ามาภายในหมู่บ้านเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความเชื่อกับรูปแบบตัวเรือน
พื้นที่ใช้สอยภายในเรือนเกิดการเปลี่ยนแปลง
บทความของ พระญาณพล กิตฺติปญฺโญ (2560) เรื่อง
ศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอ
ตามแนวพุทธจริยศาสตร์.วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา เป็นบทความที่ศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอตามแนวพุทธจริยศาสตร์"
มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในพระไตรปิฎก (2)
เพื่อศึกษาพิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอ (3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอตามแนวพุทธจริยศาสตร์
ผลการศึกษาพบว่า
พุทธจริยศาสตร์เป็นหลักการดำเนินชีวิตตามคำสอนในพระพุทธศาสนาโดยใช้ในการตัดสินและแก้ปัญหา
ซึ่งวางอยู่บนกรอบความถูกต้องของศีลธรรมในพระพุทธศาสนาโดยปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่ 2
ประการ 1.) สัจธรรม คือ
ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ 2.) ศีลธรรม คือ
ข้อที่มีลักษณะเป็นการชักชวนให้กระทำหรืองดเว้นไม่กระทำบางอย่าง
มีเกณฑ์ในการตัดสินอยู่ 2 ประการ คือ 1.) ทุจริต 3 2.) สุจริต 3 และคำนึงถึงเจตนาอีกด้วย
พิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอเป็นพิธีกรรมที่ยึดถือปฏิบัติสืบตามกันมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน
ซึ่งมีความเชื่อเรื่องขวัญว่า เมื่อขวัญตกหล่นหรือหนีหายไปจากตัว
เป็นเหตุให้เจ็บไข้ได้ป่วย
จึงต้องมีการผูกข้อมือเพื่อล่อขวัญหรือเรียกขวัญให้กลับมา โดยทุกๆปี
จะผูกข้อมืออยู่ 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนสิงหาคม
ทั้งนี้เพื่อความสุขทางกายและทางใจ พิธีกรรมการผูกข้อมือตามแนวพุทธจริยศาสตร์
พบว่า
การผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอนั้นไม่เป็นไปตามพุทธจริยศาสตร์ในส่วนของกายทุจริต
คือ มีการฆ่าสัตว์ในการประกอบพิธีกรรม ส่วนวจีทุจริต ปฏิบัติได้โดยประกอบวจีสุจริต
และมโนทุจริตปฏิบัติได้โดยประกอบมโนสุจริต และการผูกข้อมือนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น
สรุปด้านศาสนาและความเชื่อ ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อเกี่ยวกับภูติผีเป็นอย่างมาก
เพราะวิถีชีวิตอาศัยอยู่กับป่า กับเขามาตั้งแต่เดิม
ทำให้ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติมีมาตั้งแต่ดั้งเดิมสืบต่อๆกันมา
ซึ่งเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป
ชาวกะเหรี่ยงมีการเข้าหาสังคมมากขึ้นทำให้ความคิดความเชื่อเรื่องเปลี่ยนแปลงไป
นับถือศาสนาแทน ทั้งศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ
แต่ก็ยังคงมีผู้คนที่นับถือภูติผีเช่นเดิมอยู่
จบไปแล้วนะคะสำหรับการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 - 2562 (ตอนที่ 2) เหลือตอนสุดท้ายแล้ว ซึ่งจำนำเสนอเกี่ยวกับด้านสื่อวิดีทัศน์ ขอให้ทุกคนติดตามต่อไปด้วยนะคะ 💗
อ้างอิงที่มา
- - กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.(2555).กะเหรี่ยง.สำนักงานกิจกรรมโรงพิมพ์
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
- - บุหลัน รันตี.(2553).กะเหรี่ยง ผู้พิทักษ์หัวเมืองตะวันตก.สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ.
- - สมัย สุทธิธรรม.(2542).สารคดีชีวิตของชนกลุ่มน้อยบนดอยสูง
กะเหรี่ยง.บริษัท เลิฟแอนด์ลิพเพรส จำกัด.
- - กิตติกุล ศิริเมืองมูล,เชาวลิต สัยเจริญ.ความเชื่อกับการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนกะเหรี่ยงในหมู่บ้านพระบาท
ห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ,3(2559)
: 113-142.
- - พระญาณพล
กิตฺติปญฺโญ.(2560,มกราคม-มิถุนายน).ศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอ
ตามแนวพุทธจริยศาสตร์.วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา,8(1),หน้า 26-38.
- - วนิดา ตรีสวัสดิ์.วัฒนธรรมกะเหรี่ยง : การสื่อสารผ่านบทเพลง.วารสารศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นราชบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ,3(2551) : 48-59.
- - พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล.(2550).รายงานการวิจัยเรื่องดนตรีของชาวกะเหรี่ยง
อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น