A lifestyle change from the Stone Age into a Civilization.

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากยุคหินเก่า ยุคหินใหม่ จนเข้าสู่ความเป็นอารยธรรม

    จาก...ยุคหินเก่า พัฒนามาเป็นยุคหินใหม่ จนก้าวเข้าสู่ความเป็นอารยธรรมนั้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เรียกได้ว่าจากยุคหินเก่า แล้วมีการปฏิวัติเข้าสู่ยุคหินใหม่ จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ เครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ และกว่าจะมีการพัฒนาสืบเนื่องโดยใช้ระยะเวลา จนพัฒนามาเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของมนุษยชาตินั้น มีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เรามาเรียนรู้ไปด้วยกันเลยค่ะ ^^

ที่มา : http://m.beforehistory.myreadyweb.com/article/topic-49577.html


ที่มา : https://medium.com/81-47d15d87fe0e

ยุคหินเก่า (the Old Stone Age) หรือ (Paleolithic Era)

    มนุษย์ในยุคหินเก่า อาศัยอยู่บริเวณเพิงผาและถ้ำ จะมีวิถีชีวิตแบบล่าสัตว์หาของป่า (hunter-gatherers) โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นอาวุธที่ทำมาจากหินแบบหยาบ ๆ มีขนาดใหญ่ และรู้จักการใช้ไฟ มีพัฒนาการด้านการสื่อสารระหว่างกัน อาจจะเป็นการใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารในช่วงแรก ๆ อีกทั้งยังมีการสร้างภาพวาดที่บริเวณผนังถ้ำ (cave painting) มีการสันนิษฐานว่าจะใช้ในการประกอบพิธีกรรมเป็นส่วนใหญ่ เพราะจากหลักฐานพบโครงกระดูกมนุษย์ในถ้ำจำนวนมาก แสดงว่ามีการประกอบพิธีกรมการฝังศพเกิดขึ้นในยุคนี้ด้วย





ยุคหินใหม่ (the New Stone Age) หรือ (Neolithic Era)

    มนุษย์ยุคหินใหม่เริ่มที่จะมีการปฏิวัติเกษตรกรรม คือมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ (Farming and Domestication)  และมีการอพยพลงมาจากเพิงผา มาตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำ เพื่อใช้ในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และอุปโภคบริโภค รู้จักการสร้างไฟและควบคุมไฟ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ ก็มีความหลากหลายมากขึ้น เป็นเครื่องมือหินขัด มีขนาดเล็กลง สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการเกษตรเกิดขึ้น เช่น เคียว เป็นต้น และนอกจากนี้แล้ว ก็เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาทางด้านการค้ามากขึ้น อย่างเช่น การปั้นหม้อ การทอผ้า และการสร้างเครื่องมือในการเกษตรเพื่อช่วยในการไถ เป็นต้น



    ยุคหินใหม่ ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง การมีสังคมและตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ทำให้มีความ ต้องการที่จะขยายอาณาเขต จนก่อใหเ้กิดความขัดแย้งขึ้นกลายเป็นสงคราม เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดระเบียบทางสังคมมีการร่างกฎหมายเกิดขึ้น และจากความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติก็เริ่มเปลี่ยนแปลงมาเป็นความเชื่อเรื่องเทพเจ้าต่าง ๆ จนกลายเป็นอารยธรรม ...


ก้าวเข้าสู่ความเป็นอารยธรรม (Civilization)

    เมืองในยุคแรก ๆ จะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จากที่อยู่รวมกันเป็นสังคมญาติพี่น้อง ก็ค่อย ๆ ขยายไปเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น มีผู้คนจากดินแดนอื่นอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เริ่มมีผู้นำของแต่ละเมือง ทำให้มีการจัดระเบียบทางสัมคมขึ้นเพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างรู้หน้าที่ของตัวเอง และด้วยความที่ผู้คนอพยพเข้ามามักจะมาพร้อมกับการค้า ทำให้เริ่มมีการค้าขายเกิดขึ้นระหว่างกัน นอกจากนี้ก็มีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาที่มีความเฉพาะด้านมากขึ้น เช่น แพทย์ พ่อค้า ช่างฝีมือ เป็นต้น  

    อารยธรรมแรกเริ่มของมนุษย์ ส่วนมากจะเกิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสายสำคัญต่าง ๆ ดังนี้

  • อารยธรรมอียิปต์ (ลุ่มแม่น้ำไนล์)
  • อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส)
  • อารยธรรมจีน (ลุ่มแม่น้ำฮวงเหอ และแม่น้ำแยงซี)
  • อารยธรรมอินเดีย (ลุ่มแม่น้ำสินธุ)
  • อารยธรรมกรีก (คาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียน)
  • อารยธรรมโรมัน (คาบสมุทรอิตาลี)

ที่มา : https://sites.google.com/site/historyegyptbynat/home/silpa-xiyipt-boran


ที่มา : https://wichudakamtawee01.wordpress.com/93/

    การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหิน จนเข้าสู่ยุคอารยธรรมเริ่มแรก ได้มีวิวัฒนาการไปอย่างมากตามช่วงเวลา โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมา ประกอบกับการเพิ่มจำนวนของผู้คนในสังคม ทั้งการเกิดใหม่และอพยพมาจากพื้นที่อื่น ๆ ทำให้เกิดเมืองหรือรัฐขึ้น และเมื่อมีเมืองก็ต้องมีผู้นำเพื่อควบคุมผู้คนให้อยู่ในกฎระเบียบของสังคมและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ด้วยการร่างกฎหมายและข้อบังคับร่วมกัน 






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ แห่งพุทธมหายาน

ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 - 2562 (ตอนที่ 1)

ว่ายน้ำกับฉลามวาฬ มิติใหม่ที่เมืองDonsol