Tour Guide Technique

 เทคนิคการนำทัวร์ของมัคคุเทศก์

    ปัจจุบันอาชีพมัคคุเทศก์ ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน ๆ ไม่ว่าจะเป็นครู-อาจารย์ หมอ พยาบาล ฯลฯ ก็สามารถเรียนและไปสอบเป็นมัคคุเทศก์ได้ทั้งหมด เพื่อรับใบอนุญาตของไกด์ และที่สำคัญเลยที่มัคคุเทศก์ทุกคนต้องมี คือจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ มีความรับผิดชอบ มีทัศนคติดี มีบุคลิกดี รักในงานพูด  ซึ่งมัคคุเทศก์ที่ดีนั้นจะต้องมีเทคนิคการนำทัวร์ที่ดีด้วย แบ่งออกเป็น 3 ข้อ ดังนี้

    1. กระบวนการทำงานของมัคคุเทศก์

    2. เนื้อหาที่มัคคุเทศก์ควรนำเสนอ

    3. เทคนิคการนำชมและการพูด


ภาพโดย อ.ดร.จิราธร ชาติศิริ

1. กระบวนการทำงานของมัคคุเทศก์

    ในการนำเที่ยวแต่ละสถานที่ มัคคุเทศก์ควรมี Intro ก่อน เพื่อพูดเกี่ยวกับภาพรวมความเป็นมาและความสำคัญแบบสั้น ๆ ของสถานที่ รวมถึงชี้แจงถึงกฎเกณฑ์ข้อตกลงให้นักท่องเที่ยวได้ทราบและปฏิบัติตาม อีกทั้งยังต้องให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว ด้วยการ safety worning ระหว่างการเดินชมในจุดต่าง ๆ เช่น ทางเดินต่างระดับ นักท่องเที่ยวอาจจะกำลังมัวแต่สนใจถ่ายภาพ แต่ไม่ได้สังเกตทางเดิน มัคคุเทศก์ก็ควรที่จะเตือนเพื่อให้ความปลอดภัยกับลูกทัวร์ นอกจากนี้มัคคุเทศก์ก็ควรที่จะชี้แจงถึงโปรแกรมทัวร์ว่าจะต้องเดินจากจุดไหนไปจุดไหน จุดนัดพบที่ไหน บอกเวลาเพื่อมารวมตัวกันที่จุดนัดพบ และถ้าลูกทัวร์เกิดหลงทางให้ไปรอที่จุดไหน เช่น จุดเริ่มต้นก่อนที่จะเข้าไป ก็จะทำให้หากันเจอได้ง่ายขึ้น


 


ภาพโดย อ.ดร.เวียงคำ ชวนอุดม


2. เนื้อหาที่มัคคุเทศก์ควรนำเสนอ

     มัคคุเทศก์ควรที่จะพูดประเด็นความสำคัญของสถานที่ และพูดให้กระชับ เข้าใจง่าย และหากเกิดกรณีที่นักท่องเที่ยวเกิดข้อสงสัยและตั้งคำถาม มัคคุเทศก์ควรที่จะตอบคำถามนักท่องเที่ยวตามขั้นตอน ดังนี้

             1) must talk คือ พูดแก่นของเนื้อหาที่สำคัญ ๆ ให้ตรงประเด็นที่นักท่องเที่ยวถาม

             2) should talk คือ พูดเพิ่มเติมให้เข้าใจยิ่งขึ้น

         3) could talk คือ พูดอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเป็นเกร็ดความรู้แก่นักท่องเที่ยว (ถ้านักท่องเที่ยวสนใจมากค่อยพูด แต่ถ้านักท่องเที่ยวไม่สนใจแล้ว ข้อนี้ก็ไม่จำเป็นต้องพูด)


ภาพโดย อ.ดร.เวียงคำ ชวนอุดม



3. เทคนิคการนำชมและการพูด
    การนำทัวร์เพื่อชมสถานที่ มัคคุเทศก์ควรเลือกจุดนำชมที่เหมาะสม เช่น มีร่มเงา ไม่มีแดดส่อง มีลมโกรก และสามารถมองเห็นจุดต่าง ๆ ที่จะอธิบายได้ครบ ถ้าเป็นสถานที่จำกัดให้เข้าใกล้วัตถุ แต่ถ้าเป็นสถานที่กว้างใหญ่ ให้อยู่ห่างเพื่อจะได้มองเห็นทุกส่วน และไม่ยืนบังวัตถุ ควรยืนหันหน้าเข้าหานักท่องเที่ยว 45องศา
    ส่วนเรื่องการพูดหรือพากย์ทัวร์นั้น มัคคุเทศก์ควรที่จะมีบุคลิกที่ดี มีความมั่นใจในการพูด จังหวะในการพูดควรมีน้ำเสียงเบา-หนัก เพื่อดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว และการพากย์ทัวร์จะต้องมีการลิงก์ข้อมูลของสิ่งที่จะพูดโดยใช้ Adj เข้ามาช่วย เช่น จะอธิบายพระอุโบสถ หน้าบัน เจดีย์ ก็ควรมีการใช้สี ตำแหน่ง ลักษณะ(ทรงกลม ทรงเหลี่ยม) เข้ามาช่วยในการอธิบาย เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ก็ควรมีการอธิบายศัพท์เฉพาะ เพื่อให้เข้าใจตรงกัน


ภาพโดย อ.ดร.เวียงคำ ชวนอุดม


ภาพโดย อ.ดร.เวียงคำ ชวนอุดม


    เทคนิคการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์ที่ดี ต้องมี 3 ข้อที่ยกมาดังที่กล่าว คือ  1. กระบวนการทำงานของมัคคุเทศก์  2. เนื้อหาที่มัคคุเทศก์ควรนำเสนอ  3. เทคนิคการนำชมและการพูด และมัคคุเทศก์ที่ดีจะต้องจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดีเยี่ยม เพื่อรับมือกับนักท่องเที่ยวที่มาจากหลาย ๆ วัฒนธรรม หลาย ๆ เชื้อชาติได้











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ แห่งพุทธมหายาน

ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 - 2562 (ตอนที่ 1)

ว่ายน้ำกับฉลามวาฬ มิติใหม่ที่เมืองDonsol